วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคำว่า การออกแบบอัตลักษณ์,ฺBRAND,เครื่องหมายและสัญลักษณ์

การออกแบบอัตลักษณ์ หมายถึง
Combination of color schemes, designs, words, etc., that a firm employs to make a visual statement about itself and to communicate its business philosophy. It is an enduring symbol of how a firm views itself, how it wishes to be viewed by others, and how others recognize and remember it. Unlike corporate image (which is 'in there' changeable mental impression), corporate identity is 'out there' sensory-experience conveyed by things such as buildings, décor, logo, name, slogan, stationery, uniforms, and is largely unaffected by its financial performance and ups and downs in its fortunes. Corporate-identity is either strong or weak (not positive, negative, or neutral like a corporate image) and is more or less permanent unless changed deliberately. The identity (conveyed by its name and multicolored bitten-off-apple logo) of Apple computer, for example, as an innovative and pathbreaking firm has survived almost intact over about 30 years. But its image as a successful business has dimmed and brightened several times during the same period.
ที่มา : http://www.businessdictionary.com/definition/corporate-identity.html

         การผสมผสานของโทนสี การออกแบบ คำ ที่สร้างภาพลักษณ์และการสื่อสารปรัชญาการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสื่อสารให้คนบุคคลทั่วไปจดจำและจำได้ ซึ่งแตกต่างจากภาพลักษณ์ (มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก), เช่นอาคาร, ตกแต่ง, โลโก้, ชื่อ, สโลแกน, เครื่องเขียน, เครื่องแบบ เป็นต้น มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร




           การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (The Corporate Identity Design) คือ แนวทางหนึ่งของธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีพลัง อันหมายถึงความคิดแบบ 360 องศาครบถ้วนทุกมิติ เพื่อภาพรวมขององค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีเอกภาพผ่านการออกแบบนั่นเอง

         ความจำเป็นอย่างหนึ่งของการสร้างสรรค์อัตลักษณ์องค์กรก็คือ การวางแผนคิดครอบคลุมครบถ้วนจนสามารถทำให้องค์กรขับเคลื่อนอย่างมีทิศทาง เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ผู้นำรุ่นใหม่ที่สามารถมองภาพรวม และภาพบนอย่างครอบคลุม (BIRD EYE VIEW) จนส่งผลให้ธุรกิจ, องค์กรต่างๆเหล่านั้น มีแบรนด์ที่สมบูรณ์ ยั่งยืนถึงลูกหลานส่งผลต่อการจดจำภาพลักษณ์ได้ง่ายดาย

          Corporate Identity Design (CI Design) คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์หนึ่งๆ โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้ไม่ใช่แค่การออกแบบ “โลโก้” แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ หากแต่เป็นการออกแบบ “ภาพลักษณ์ทั้งหมด” ของแบรนด์ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้เฉกเช่นเดียวกับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป

สรุป : การออกแบบอัตลักษณ์ คือการออกแบบวางแผน แก้ปัญหา ภาพลักษณ์ทั้งหมดให้กับองค์กรให้คนภายนอกสัมผัสได้เหมือนที่องค์กรสื่อไป เช่น โทนสี โลโก้ ตัวผลิตภัณฑ์ ยูนิฟอร์มเป็นต้น

แบรนด์ BRAND หมายถึง
Brand - แบรนด์ ไม่ใช่แค่เพียงชื่อสินค้า ไม่ใช่แค่เพียง Logo ไม่ใช่แค่เพียงโฆษณา และไม่ใช่แค่รูปแบบของตัวบรรจุภัณฑ์เท่านั้น ความหมายของ แบรนด์ จาก ผู้รู้ทางโฆษณา Mr. Jack Trout กล่าวไว้ว่า ตราสินค้า หรือ Brand -แบรนด์ คือความรู้สึก หรือ ความประทับใจโดยรวมต่อสินค้ายี่ห้อนั้นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภค ทั้งจากการโฆษณา ประสบการณ์การใช้สินค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร และบุคลากรจากสินค้าและการบริการ รวมถึง ประสบการณ์ใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของ Brand - แบรนด์ นั้น


ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=JKIAOZZritk

            แบรนด์ คือ ภาพลักษณ์ หรือ ความคาดหวังที่ลูกค้ามีต่อผลิตภัณฑ์หรือ บริการขององค์กร ซึ่งแบรนด์นั้นกินเนื้อความกว้างไกลกว่าคำว่า ตราสินค้า หรือLogo เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องราวทั้งหมดที่ผู้บริโภคเกิดการรับรู้เกี่ยวกับองค์กรของเราเป็นเวลานานๆทำให้เกิดความเชื่อถือและไว้ใจ

สรุป :  แบรนด์คือ ภาพลักษณ์ ความคาดหวัง ความประทับใจของผู้บริโภค จากประสบการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการ จนเกิดความเชื่อมั่นในสิรค้าและบริการนั้นๆ

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ หมายถึง


          สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น

สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน
               
ที่มา :



เครื่องหมาย (Sign)

คำภาษาลาตินว่า “Signum” (Angeles, 1981: 256) หมายถึง สิ่งที่ใช้แทนสิ่งอื่น แบ่งได้สองประเภท คือ (กีรติ บุญเจือ. 2522: 84)

เครื่องหมายตามธรรมชาติ (Natural sign) ได้แก่ สิ่งที่บ่งถึงสิ่งอื่นโดยไม่จำเป็นต้องมีการตกลงกัน เช่น ไฟ หมายถึง ความร้อน

เครื่องหมายตามข้อตกลง (Conventional/Artificial sign)ได้แก่ สิ่งที่ตกลงรู้กันในหมู่คณะว่าหมายถึงอะไร เช่น ธงไตรรงค์ หมายถึง ชาติไทย

สัญลักษณ์ (Symbol)

ภาษากรีกว่า “Symbolon” (Angeles, 1981: 285) หมายถึง เครื่องหมายที่มีการตกลงกัน หรือการรับรู้กันว่าใช้อ้างอิงถึงอีกสิ่งหนึ่ง ได้แก่

สิ่ง/เครื่องหมายที่เห็นได้ (A visible sign) แทนความคิดที่ต้องการถ่ายทอด เช่น เครื่องหมายกากบาทข้างถนน แทนสี่แยกข้างหน้า

คำ/ เครื่องหมาย (A word/ mark) ที่ใช้แทนสิ่งที่มีลักษณะเป็นนามธรรม เพื่อการติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอดความคิด เช่น ธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์หมายถึงชาติไทย

สิ่งที่มีการให้ความหมาย โดยการตกลงร่วมกันในสังคมว่าหมายถึงสิ่งหนึ่ง เช่น ไฟจราจรสีเหลือง หมายถึง การขับรถด้วยความระมัดระวังหรือ การเตรียมหยุดรถ

          โดยทั่วไป สัญลักษณ์เป็นส่วนหนึ่งของ “เครื่องหมาย” แต่มีความหมายจำกัดอยู่ในเครื่องหมายที่มีการตกลงกัน (Conventional/Artificial sign) มีการใช้ร่วมกันในสังคม ให้เป็นสื่อ (ตัวแทน) ถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอ (Meaning, quality, abstraction, idea, object) แทนสิ่งนั้นๆ กล่าวคือ การใช้สิ่ง/เครื่องหมายที่เห็นได้/เข้าใจได้ (Visible sign) แทน(Represent) สิ่งที่ต้องการถ่ายทอด (Something else)


          สัญลักษณ์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ต้องเพียรพยายามเสาะหาข้อมูล แล้วใช้ความคิด ความสามารถทางศิลปสร้างสรรค์ออกมาจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม จึงได้ผลงานที่มีคุณค่าทางเนื้อหามีความหมาย ทำให้ผู้พบเห็นเกิดจินตนาการ อารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของนักออกแบบที่จะนำองค์ประกอบศิลป์มาใช้ในการออกแบบอย่างเหมาะสมลงตัว นอกจากนั้นการนำเสนอสัญลักษณ์สู่สังคมโดยผ่านสื่อต่างๆ สัญลักษณ์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของสังคมแต่ละยุคสมัย แต่ละแ่ง ดังนั้นสัญลักษณ์จึงมีคุณค่าทางศิลปะพอที่มนุษย์จะชื่นชมในความงาม

ที่มา : หนังสือเรื่อง :การออกแบบสัญลักษณ์
ผู้เขียน : ทองเจือ เขียดทอง
สำนักพิมพ์สิปประภา











สรุป : เครื่องหมายและสัญลักษณ์หมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมาย หรือสิ่งที่ต้องการถ่ายทอด อาจเกิดจากการตกลงร่วมกัน หรือ ความต้องการของผู้ต้องการที่จะสื่อ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น